วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ลูกแรดเตรียมพร้อมล่าเหยื่อ

สิ่งที่ได้รับจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ3
1.มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
2.มีความเป็นระบบมากขึ้น
3.มีความรับผิดชอบมากขึ้น
4.ได้เรียนรู้ในการทำงานเป็นทีม
5.มีความตรงต่อเวลามากขึ้น

วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2552

DTS11-15/09/2552

สรุป Sorting (ต่อ) การเรียงลำดับแบบเร็ว (Quick sort) เป็นการเรียงลำดับที่ใช้วเลาน้อยเหมาะสำรับข้อมูล
มีจำนวนมากที่ต้องการความรวดเร็วในการทำงาน
การเรียงลำดับแบบแทรก (insertion sort)
เป็นวิธีที่ทำการเพิ่มสมาชิกใหม่เข้าไปในเซต ที่มีสมาชิกทุกตัวเรียงลำดับอยู่แล้ว
และทำให้เซตใหม่ มีสมาชิกทุกตัวเรียงลำดับด้วย วิธีการเรียงลำดับ
1.เริ่มต้นเปรียบเทียบจากข้อมูลในตำแหน่งที่ 1 กับ 2 หรือข้อมูลในตำแหน่งสุด
ท้ายและรองสุดท้ายก็ได้
ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากน้อยไปมาก
2.จะต้องจัดให้ข้อมูลที่มีค่าน้อยอยู่ในตำแหน่งก่อนข้อมูลที่มีค่ามาก และถ้าเรียงจาก
มากไปน้อยก็จะจัดให้ข้อมูลที่มีค่ามากอยู่ในตำแหน่งก่อน
การเรียงลำดับแบบฐาน (radix sort)
เป็นการเรียงลำดับโดยการพิจารณาข้อมูลทีละหลัก
1.เริ่มพิจารณาจากหลักที่มีค่าน้อยที่สุดก่อน คือ ถ้าเป็นข้อมูลเป็นเลขจำนวน
เต็มจะพิจารณาหลักหน่อยก่อน
2.การจัดเรียงจะนำข้อมูลเข้ามาทีละตัว และนำไปเก็บไว้ที่ซึ่งจัดไว้
สำหรับค่านั้น เป็นกลุ่มๆ ตามลำดับการเข้ามา
3.ในแต่ละรอบเมื่อจัดกลุ่มเรียบร้อยแล้ว ให้รวบรวมข้อมูลจาก
ทุกกลุ่มเข้าด้วยกัน โดยเริ่มเรียงจากกลุ่มที่มีค่าน้อยที่สุดก่อนแล้วเรียงไปเรื่อยๆ จนหมดทุกกลุ่ม
4.ในรอบต่อไปนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้จัดเรียงในหลักหน่วยเรียบร้อยแล้วมาพิจารณา
จัดเรียงในหลักสิบต่อไป ทำไปเรื่อยๆ จนครบทุกหลักจะได้ข้อมูลที่
เรียงลำดับจากน้อยไปมากตามต้องการ
ตารางแฮช (Hash Table)
ฟังก์ชั่น แฮช จะทำงานแบบสุ่ม การที่แทรกคีย์ในตาราง ที่จัดเก็บนั้นมีโอกาสที่
คีย์ที่ถูกสร้างจากฟังก์ชั่น ในช่องเดียวกันตามการเกิดการชนกัน
ก็ยังคงต้องมีอย่างน้อยหนึ่งครั้ง
วิธีการในการรองรับกรชนกันของตารางแฮช คือ
-การทำแบ่งห่วงโซ่ (Chaining)
-แบบการเปิดที่อยู่ (Open Addressing)
การแก้ไขปัญหาชนกันของข้อมูลแบบห่วงโซ่ (Chaining)
1.กรณีที่เลวร้ายที่สุด ในการแทรกข้อมูลคือ o(1)
2.การลบสมาชิก สามารถทำได้ด้วยเวลาที่น้อยที่สุดของ o(1)
ทางปฏิบัติ ใช้เทคนิค ฮิวริสติก (Heuristic) ในการสร้างฟังก์ชั่นแฮช
แนวทางหนึ่งที่ดี คือ การแปลงค่าของข้อมูลที่มีอยู่แล้ว
ด้วยข้อมูลที่มีอยู่ (วิธีการหาร : Division method)
วิธีการสร้างฟังก์ชั่นแฮช
1.วิธีการหาร (The Division Method)
2.วิธีการคูณ (The Multiplication Method)
3.วิธีทั่วไป (Universal hsahing)
เทคนิคลำดับการตรวจสอบ
1.การตรวจสอบเชิงเส้น (Linear Probing)
2.การตรวจสอบด้วยสมการกำลังสอง (Quadratic Probing)
3.การสร้างฟังก์ชันแฮชแบบสองเท่า (Double Hashing)

DTS10-08/09/2552

สรุป กราฟ (Graph) ต่อ
การท่องไปในกราฟ (Graph traversal) คือ การเข้าไปเยือนโหนดในกราฟ
หลักการทำงาน คือ แต่ละโหนดจะถูกเยือนเพียงครั้งเดียว
เทคนิคการท่องไปในกราฟมี 2 แบบ
1.การท่องแบบกว้าง (Breadth First Traversal) โดยเลือกโหนดที่เป็นจุดเริ่มต้น
ต่อมาให้เยือนโหนดอื่นที่ใกล้กันกับโหนดเริ่มต้นที่ละระดับ
จนเยือนหมดทุกโหนดในกราฟ (แบบคิว)
2.การท่องแบบลึก (Depth First Traversal) คล้ายกับการท่องทีละระดับของทรี
กำหนดเริ่มต้นที่โหนดแรกและเยือน
สรุป Sorting
การเรียงลำดับ (sorting) เป็นการจัดให้เป็นระเบียบ มีแบบแผน
ช่วยให้การค้นหาสิ่งของหรือข้อมูล สามารถทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
การเรียงลำดับอย่างมีประสิทธิภาพ
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาเพื่อเลือกวิธีการเรียงลำดับ
ที่ดีและเหมาะสมกับระบบงาน
1.เวลาและแรงงานที่ต้องใช้ในการเขียนโปรแกรม
2.เวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องใช้ในการทำงานตามโปรแกรมที่เขียน
3.จำนวนเนื้อที่ในหน่วยความจำหลักมีเพียงพอหรือไม่
วิธีการเรียงลำดับแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.การเรียงลำดับภายใน (internal sorting) เป็นการเรียงลำดับที่ข้อมูลทั้งหมด
ต้องอยู่ในหน่วยความจำหลัก
2.การเรียงลำดับแบบภายนอก (external sorting) เป็นการเรียนลำดับข้อมูลที่
เก็บอยู่ในหน่วยความจำสำรอง เป็นการเรียงลำดับข้อมูลในแฟ้มข้อมูล (file)
การเรียงลำดับแบบเลือก (selection sort)
ข้อมูลจะอยู่ทีละตัว โดยทำการค้นหาข้อมูลในแต่ละรอบแบบเรียงลำดับ
ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากน้อยไปมาก
1.ในรอบแรกจะทำการค้นหาข้อมูลตัวที่มีค่าน้อยที่สุดมาเก็บไว้ที่ตำแหน่งที่ 1
2.ในรอบที่สองนำข้อมูลตัวที่มีค่าน้อยรองลงมาไปเก็บไว้ที่ตำแหน่งที่ 2
3.ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบทุกค่า ในที่สุดจะได้ข้อมูลเรียงลำดับจากน้อย
ไปมากตามที่ต้องการ
การจัดเรียงลำดับแบบเลือกเป็นวิธีที่ง่ายและตรงไปตรงมา แต่มีข้อเสียตรงที่ใช้เวลา
ในการจัดเรียงนาน เพราะแต่ละรอบต้องเปรียบเอียบกับข้อมูลทุกตัว
การเรียงลำดับแบบฟอง (Bubble Sort)
เป็นวิธีการเรียงลำดับที่มีการเปรียบเทียบข้อมูลในตำแหน่งที่อยู่ติดกัน
1.ถ้าข้อมูลทั้งสองไม่อยู่ในลำดับที่ถูกต้องให้สลับตำแหน่งที่อยู่กัน
2.ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากน้อยไปมากให้นำข้อมูลตัวที่มีค่าน้อยกว่าอยู่ใน
ตำแหน่งก่อนข้อมูลที่มีค่ามาก ถ้าเป็นการเรียงลำดับจากมากไปน้อยให้นำ
ข้อมูล ตัวที่มีค่ามากกว่าอยู่ในตำแหน่งก่อนข้อมูลที่มีค่าน้อย
การจัดเรียงลำดับแบบฟองเป็นวิธีที่ไม่ซับซ้อนมาก เป็นวิธีการเรียงลำดับที่นิยม
ใช้กันมากเพราะมีรูปแบบที่เข้าใจง่าย

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552

DTS09-01/09/2552

สรุป Tree(ต่อ)
เอ็กซ์เพรสชันทรี (Expression Tree)
การนำเอาโครงสร้างทรีไปใช้เก็บนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ ลำดับขั้นตอนการคำนวณความสำคัญของเครื่องหมายมีดังนี้
-ฟังก์ชัน
-วงเล็บ
-ยกกำลัง
-เครื่องหมายหน้าเลขจำนวน(unary)
-คูณ หรือ หาร
-บวก หรือลบ
-ถ้ามีเครื่องหมายที่ระดับเดียวกันให้ทำจากซ้ายไปขวา
สรุป กราฟ (Graph)

กราฟ (Graph) โครงสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้น นำไปใช้แก้ปัญหาที่ค่อนข้างซ้บซ้นอ เช่น การวางข่าย งานคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์เส้นทางวิกฤติ และปัญหาเส้นทางที่สั้นที่สุด เป็นต้น
นิยามของกราฟ
กราฟ เป็นโครสร้างข้อมูลแบบไม่ใช่เชิงเส้น ที่ประกอบ
1.โหนด (Nodes) หรือเวอร์เทกซ์ (Vertexes)
2.เส้นเชื่อมระหว่างโหนด เรียก เอ็จ (Edges)
-กราฟที่มีเอ็จเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด ถ้าเอ็จไม่มีลำดับ ความสัมพันธ์จะเรียกกราฟนั้นว่า กราฟแบบไม่มีทิศทาง
-ถ้ากราฟมีเอ็จที่มีลำดับความสัมพันธ์หรือมีทิศทางกำกับด้วยเรียกกราฟว่า กราฟแบบมีทิศทาง บางครั้งเรียกว่า ไดกราฟ
-การเขียนกราฟแสดงโหนดและเส้นเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างโหนดไม่มีรูปแบบที่ตายตัว
-เขียนกราฟเพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่สนใจแทนโหนดด้วยจุด (pointes) หรือวงกลม (circles) ที่มีชื่อหรือข้อมูลกำกับ

ลักษณะของกราฟ
-กราฟที่มีลักษณะต่อเนื่อง (Connected) เป็นกราฟที่มีเส้นทางเชื่อมจากโหนดใดๆ

ไปยังโหนดอื่นเสมอ
-กราฟที่มีลักษณะเป็นวิถี (Path) มีเส้นเชื่อมไปยังโหนดต่างๆ อย่างเป็นลำดับ โดยแต่ละโหนดจะเป็นโหนดที่ใกล้กันกับโหนดที่อยู่ถัดไป

-กราฟที่เป็นวัฎจักร (Cycle) ต้องมีอย่างน้อย 3 โหนด ที่โหนดสุดท้ายต้องเชื่อม
กับโหนดแรก
-กราฟที่มีลักษณะไม่ต่อเนื่อง (Disconnected) ไม่มีเส้นทางเชื่อมจากโหนด 3

ไปยังโหนดอื่นเลย
กราฟแบบมีทิศทาง เป็นเซตแบบจำกัดของโหนดและเอ็จ โดยเซตจะว่างไม่มีโหนดหรือเอ็จเลยเป็นกราฟว่าง (Empty Graph)
รูปแบบของกราฟแบบมีทิศทางเหมือนกับรูปแบบของกราฟไม่มีทิศทาง ต่างกันตรง
ที่กราฟแบนี้จะทิศทางกำกับด้วยเท่านั้น
การแทนกราฟในหน่วยความจำ
สิ่งที่ต้องจัดเก็บ จากกราฟทั่วไป คือ เอ็จ เป็นเส้นเชื่อมระหว่างโหนดสองโหนด มีวิธีเก็บหลายวิธี แต่วิธีที่ง่าย คือ การเก็บเอ็จในแถวลำดับ 2 มิติ แต่จะค่อนข้างเปลืองเนื้อที่ เพราะมีบางเอ็จที่เก็บซ้ำ แก้ไขปัญหานี้โดยใช้แถวลำดับ 2 มิติเก็บโหนด และพอยเตอร์ชี้ไปยังตำแหน่งของโหนดที่สัมพันธ์ และใช้แถวลำดับ 1 มิติเก็บโหนดต่างๆ ที่สัมพันธ์กับโหนดในแถวลำดับ 2 มิติ การใช้วิธีนี้ไม่เหมาะกับกราฟที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา กราฟที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอาจจะใช้วิธีแอดจาเซนซีลิสต์ คล้ายกับวิธีจัดเก็บกราฟแต่ต่างกันตรงที่ใช้ลิงค์ลิสต์แทนเพื่อความสะดวกในการเปลี่ยนแปลงแก้ไข

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS08 25/08/2009

สรุปเรื่อง Tree
ทรี (Tree) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ความสัมพันธ์ระหว่าง
โหนดจะมีความสัมพันธ์ลดหลั่นกันเป็นลำดับชั้น เช่น แผนผังองค์ประกอบของหน่วยงานต่างๆ
เป็นต้นโหนดมีความสัมพันธ์กับโหนดในระดับต่ำลงมา หนึ่งระดับได้หลายๆ
โหนด เรียกว่าโหนดว่า โหนดแม่ (Parent or Mother Node)
โหนดที่อยู่ต่ำกว่าโหนดแม่อยู่หนึ่งระดับเรียกว่า โหนดลูก (Child or Son Node)
โหนดที่อยู่ในระดับสูงสุดและไม่มีโหนดแม่เรียกว่า โหนดราก (Root Node)
โหนดที่มีโหนดแม่เป็นโหนดเดียวกันเรียกว่า โหนดพี่น้อง (Siblings)
โหนดที่ไมมีโหนดลูกเรียกว่า โหนดใบ (Leave Node)
เส้นเชื่อมแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโหนดสองโหนดเรียกว่า กิ่ง (Branch)
นิยามของทรี
1.)นิยามทรีด้วยนิยามของกราฟ ทรี คือ
กราฟที่ต่อเนื่องโดยไม่มีวงจรปิด (loop) ในโครงสร้าง
การเขียนรูปแบบทรี เขียนได้ 4 แบบ คือ
1.แบบที่มีรากอยู่ด้านบน
2.แบบที่มีรากอยู่ด้านล่าง
3.แบบที่มีรากอยู่ด้านซ้าย
4.แบบที่มีรากอยู่ด้านขวา
2.)นิยามทรีด้วยรูปแบบรีเครอร์ซีฟทรี
ประกอบด้วยสมาชิกที่เรียกว่า โหนด โดยที่ถ้าว่างไม่มีโหนดใดๆ
เรียกว่า นัลทรี (Null Tree) และถ้ามีโหนดหนึ่งเป็นโหนดราก
ส่วนที่เหลือจะแบ่งเป็น ทรีย่อย (Sub Tree)
การแทนที่ทรีในหน่วยความจำหลัก
การแทนที่โครงสร้างข้อมูลแบบทรีในความจำหลักจะมีพอยเตอร์เชื่อม
โยงจากโหนดแม่ไปยังโหนดลูก การแทนที่ทรี แต่ละโหนดมีจำนวนลิงค์ฟิลด์ไม่เท่ากัน
วิธีการแทนที่ง่ายที่สุด คือ ทำให้แต่ละโหนดมีจำนวนลิงค์ฟิลด์ที่เท่ากัน โดย
1.โหนดแต่ละโหนดเก็บพอยเตอร์ชี้ไปยังโหนดลูกทุกโหนด
2.แทนทรีด้วยไบนารีทรี โดยกำหนดให้แต่ละโหนดมีจำนวนลิงค์ฟิลด์สองลิงค์ฟิลด์
- ลิงค์ฟิลด์แรกเก็บที่อยู่ของโหนดลูกคนโต
- ลิงค์ฟิลด์ที่สองเก็บที่อยู่ของโหนดพี่น้องที่เป็นโหนดถัดไป
โหนดใดไม่มีโหนดลูกหรือไม่มีโหนดพี่น้องให้ค่าพอยเตอร์ในลิงค์ฟิลด์มีค่าเป็น Null
โครงสร้างทรีที่แต่ละโหนดมีจำนวนโหนดลูดไม่เกินสองหรือแต่ละโหนดมีจำนวนทรีย่อย
ไม่เกินสองนี้ว่า ไบนารีทรี (Binary Tree)
โครงสร้างทรีที่แต่ละโหนดมีจำนวนโหนดลูดไม่เกินสองหรือแต่ละโหนดมีจำนวนทรีย่อย
ไม่เกินสองนี้ว่า ไบนารีทรี (Binary Tree)
การแปลงทรีทั่วไปให้เป็นไบนารีทรี
1.ให้โหนดแม่ชี้ไปยังโหนดลูกคนโต แล้วลบความสัมพันธ์ระหว่าง
โหนดแม่และโหนดลูกอื่นๆ
2.ให้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างโหนดพี่น้อง
3.จับให้ทรีย่อยทางขวาเอียงลงมา 45 องศา
การท่องไปในไบนารีทรี คือ การท่องไปในไบนารีทรี (Traversing Binary Tree)
เพื่อเข้าไปเยือนทุกๆ โหนดในทรี
โหนดแม่ (แทนด้วย N)
ทรีย่อยทางซ้าย (แทนด้วย L)
ทรียอ่ยทางขวา (แทนด้วย R)
วิธีการท่องเข้าไปในทรี 6 วิธี คือ NLR LNR LRN NRL RNL และ RLN วิธีที่นิยม
ใช้ คือ การท่องจากซ้ายไปขวา 3 แบบแรก คือ NLR LNR และ LRN

วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS07 11/08/2009

สรุปเรื่อง Queue
คิว (Queue) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบเชิงเส้นหรือลิเนียร์ลิสต์ การเพิ่มข้อมูล
จะกระทำที่ปลายข้างหนึ่ง เรียกว่าส่วนท้ายหรือเรียร์ (rear) และการนำข้อมูลออก
จะทำอีกข้างหนึ่ง เรียกว่า ส่วนหน้า หรือฟรอนต์ (front)
ลักษณะการทำงานของคิว
เป็นลักษณะของการเข้าก่อนออกก่อนหรือที่เรียกว่า FIFO (First In First Out)
การทำงานของคิว
- การใส่สมาชิกตัวใหม่ลงในคิว เรียกว่า Enqueue
- การนำสมาชิกออกจากคิว เรียกว่า Dequeue
- การนำข้อมูลที่อยู่ตอนต้นของคิวมาแสดง เรียกว่า Queue Front
- การนำข้อมูลที่อยู่ตอนท้ายของคิวมาแสดง เรียกว่า Queue Rear
1.การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบลิงค์ลิสต์
ประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
(1)Head Node ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ พอยเตอร์ 2 ตัว คือ Front และ rear
กับจำนวนสมาชิกในคิว
(2)Data Node ประกอบไปด้วยข้อมูลและพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลถัดไป
2.การแทนที่ข้อมูลของคิวแบบอะเรย์
การนำข้อมูลเข้าจะต้องดูว่าคิวเต็มหรือว่างไหม ถ้านำข้อมูลเข้า
ไปจะทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้น overflow
การนำข้อมูลออกจากคิว จะไม่สามารถทำได้ถ้านำข้อมูลออกแล้วทำให้คิวว่าง
จะทำให้เกิดความผิดพลาดขึ้น underflow
การดำเนินการเกี่ยวกับคิว
1.Create Queue การจัดสรรหน่วยความจำให้แก่ Head Node และให้ค่า pointer
2.Enqueue การเพิ่มข้อมูลเข้าไปในคิว
3.Dequeue การนำข้อมูลออกจากคิว
4.Queue Front การนำข้อมูลที่อยู่ส่วนต้นของคิวมาแสดง
5.Queue Rear การนำข้อมูลที่อยู่ส่วนท้ายของคิวมาแสดง
6.Empty Queue การตรวจสอบว่าคิวว่างหรือไม่
7.Full Queue เป็นการตรวจสอบว่าคิวเต็มหรือยัง
8.Queue Count การนับจำนวนสามาชิกที่อยู่ในคิว
9.Destroy Queue การลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในคิว

DTS06 04/08/2009

สรุปเรื่อง Stack สแตก (Stack) เป็นโครงสร้างข้อมูลแบบลิเนียร์ลิสต์ มีคุณสมบัติ คือ
การเพิ่มหรือลบข้อมูลในสแตก ลักษณะสำคัญของสแตก คือ
ข้อมูลที่ใส่หลังสุดจะถูกนำออกมาจากสแตกเป็นลำดับแรกสุด เช่น การหยิบ CD, การหยิบจาน เป็นต้น กระบวนการที่สำคัญ 3 กระบวนการ คือ
1.Push คือ การนำข้อมูลใส่ลงไปในสแตก ต้องดูด้วยว่าสามารถใส่ข้อมูลลงไปได้หรือไม่
ถ้าสแตกเต็มก็ไม่สามารถเพิ่มข้อมูลได้
2.Pop คือ การนำข้อมูลออกจากส่วนบนสุดของสแตก การ Pop ถ้าไม่มีสมาชิกในสแตก
จะทำให้เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่า Stack Underflow
3.Stack Top การคัดลอกข้อมูลบนสุดของสแตก แต่ไม่ได้เอาข้อมูลออกการแทนที่ข้อมูลของสแตก
การดำเนินการเกี่ยวกับสแตก ของทั้งแบบลิงค์ลิสต์และแบบอะเรย์ ได้แก่
1.Create Stack คือ การจัดสรรหน่วยความจำให้ Head Node และส่งค่า
ตำแหน่งที่ชี้ของ Head ของสแตกกลับมา
2.Push Stack คือ การเพิ่มข้อมูลลงในสแตก
3.Pop Stack คือ การนำข้อมูลบนสุดออกจากสแตก
4.Stack Top คือ การคัดลอกข้อมูลที่อยู่บนสุดของสแตก โดยไม่ลบข้อมูลออกจากสแตก
5.Empty Stack คือ การตรวจสอบการว่างของสแตก
เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด Stack Underflow
6.Full Stack คือ การตรวจสอบว่าสแตกเต็มหรือไม่
เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด Stack Overflow
7.Stack Count คือ การนับจำนวนสมาชิกในสแตก
8.Destroy Stack คือ การลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ในสแตก
ขั้นตอนการแปลงจากนิพจน์ Infix เป็นนิพจน์ Postfix
1.อ่านอักขระในนิพจน์ Infix เข้ามาทีละตัว
2.ถ้าเป็นตัวถูกดำเนินการจะถูกย้ายไปเป็นตัวอักษรในนิพจน์ Postfix
3.ถ้าเป็นตัวดำเนินการจะนำค่าลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการที่อ่านเข้ามาเปรียบเทียบกับค่าลำดับความสำคัญของตัวดำเนินการที่อยู่บนสุดของสแตก
- ถ้ามีความสำคัญมากกว่า จะถูก push ลงในสแตก
- ถ้ามีความสำคัญน้องกว่าหรือเท่ากัน จะต้อง pop ตัวดำเนินการที่อยู่ในสแตก
ขณะนั้นไปเรียงต่อกับตัวอักษรในนิพจน์ Postfix
4.ตัวดำเนินการที่เป็นวงเล็บปิด ")" จะไม่ push ลงในสแตก แต่มีผลให้ตัวดำเนิน
การอื่นๆ ถูก pop ออกจากสแตกนำไปเรียงต่อกันใน
นิพจน์ Postfix จนกว่าจะเจอ "(" จะ pop วงเล็บเปิดออกจากสแตกแต่ไม่นำไปเรียงต่อ
5.เมื่อทำการอ่านตัวอักษรในนิพจน์ Infix หมดแล้ว ให้ทำการ pop
ตัวดำเนินการทุกตัวในสแตกนำมาเรียงต่อในนิพจน์ Postfixการคำนวณ
ค่า Postfix ที่แปลงมา ตัวแปลภาษาจะทำการคำนวณโดยใช้โครงสร้างสแตกช่วย
ขั้นตอนในการคำนวณ
1.อ่านตัวอักษรในนิพจน์ Postfix จากซ้ายไปขวาทีละตัวอักษร
2.ถ้าเป็นตัวถูกดำเนินการให้ทำการ push ตัวถูกดำเนินการนั้นลงในสแตก แล้วกลับไปอ่านอักษรตัวใหม่เข้ามา
3.ถ้าเป็นตัวดำเนินการ ให้ทำการ pop ค่าจากสแตก 2 ค่า โดยตัวแรกเป็นตัวถูกดำเนินการตัวที่ 2 และตัวที่ 1 ตามลำดับ
4.ทำการคำนวณตัวถูกดำเนินการตัวที่ 1 ด้วยตัวถูกดำเนินการตัวที่ 2 โดยใช้ตัวดำเนินการในข้อ 3
5.ทำการ push ผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณในข้อ 4 ลงสแตก
6.ถ้าตัวอักษรในนิพจน์ Postfix ยังอ่านไม่หมดให้กลับไปทำข้อ 1 ใหม่

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

DTS05 28/07/2009

เรื่อง Linked List ลิงค์ลิสต์ (Linked List) เป็นวิธีการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องของอิลิเมนต์ต่าง ๆ โดยมี
พอยเตอร์เป็นตัวเชื่อมต่อแต่ละอิลิเมนท์ เรียกว่าโนด (Node) ซึ่ง
ในแต่ละโนดจะประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ
Data จะเก็บข้อมูลของอิลิเมนท์ และ ส่วนที่สอง คือ Link Field จะทำหน้าที่เก็บตำแหน่งของโนดต่อไปในลิสต์
ในส่วนของ data อาจจะเป็นรายการเดี่ยวหรือเป็นเรคคอร์ดก็ได้
ในส่วนของ link จะเป็นส่วนที่เก็บตำแหน่งของโหนดถัดไป ในโหนดสุดท้ายจะเก็บค่า Null
ซึ่งไม่ได้ชี้ไปยังตำแหน่งใด ๆ เป็นตัวบอกการสิ้นสุดของลิสต์

โครงสร้างข้อมูลแบบลิงค์ลิสต์จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. Head Structure จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ จำนวนโหนดในลิสต์ (Count) พอยเตอร์ที่ชี้ไปยัง
โหนดที่เข้าถึง (Pos) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังโหนดข้อมูลแรกของลิสต์ (Head)
2. Data Node Structure จะประกอบไปด้วยข้อมูล(Data) และพอยเตอร์ที่ชี้ไปยังข้อมูลตัวถัดไป
กระบวนงานและฟังก์ชั่นที่ใช้ดำเนินงานพื้นฐาน
1. กระบวนงาน Create Listหน้าที่ สร้างลิสต์ว่าง ผลลัพธ์ ลิสต์ว่าง
2. กระบวนงาน Insert Node หน้าที่เพิ่มข้อมูลลงไปในลิสต์บริเวณตำแหน่งที่ต้องการ
ข้อมูลนำเข้า ลิสต์ ข้อมูลและตำแหน่ง ผลลัพธ์ สิลต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง
3. กระบวนงาน Delete Node หน้าที่ ลบสมาชิกในลิสต์บริเวณตำแหน่งที่ต้องการ
ข้อมูลนำเข้า ข้อมูลและตำแหน่ง ผลลัพธ์ ลิสต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง
4. กระบวนงาน Search list หน้าที่ ค้นหาข้อมูลในลิสต์ที่ต้องการข้อมูลนำเข้าลิสต์
ผลลัพธ์ ค่าจริงถ้าพบข้อมูล ค่าเท็จถ้าไม่พบข้อมูล
5. กระบวนงาน Traverse หน้าที่ ท่องไปในลิสต์เพื่อเข้าถึงและประมวลผลข้อมูลนำเข้าลิสต์
ผลลัพธ์ ขึ้นกับการประมวลผล เช่น เปลี่ยนแปลงค่าใน node, รวมฟิลด์ในสิสต์, คำนวณค่า
เฉลี่ยนของฟิลด์ เป็นต้น
6. กระบวนงาน Retrieve Node หน้าที่ หาตำแหน่งข้อมูลจากลิสต์ข้อมูลนำเข้าลิสต์
ผลลัพธ์ ตำแหน่งข้อมูลที่อยู่ในลิสต์
7. ฟังก์ชั่น EmptyList หน้าที่ ทดสอบว่าลิสต์ว่าง ข้อมูลนำเข้าลิสต์ผลลัพธ์
เป็นจริง ถ้าลิสต์ว่าง เป็นเท็จ ถ้าลิสต์ไม่ว่าง
8. ฟังก์ชั่น FullList หน้าที่ ทดสอบว่าลิสต์เต็มหรือไม่ข้อมูลนำเข้าลิสต์ผลลัพธ์
เป็นจริง ถ้าหน่วยความจำเต็ม เป็นเท็จ ถ้าสามรถมีโหนดอื่น
9. ฟังก์ชั่น list count หน้าที่ นับจำนวนข้อมูลที่อยู่ในลิสต์ ข้อมูลนำเข้าลิสต์ผลลัพธ์
จำนวนข้อมูลที่อยู่ในลิสต์
10. กระบวนงาน destroy list หน้าที่ ทำลายลิสต์ข้อมูลนำเข้า ลิสต์ ผลลัพธ์ ไม่มีลิสต์
Linked List แบบซับซ้อน
1. Circular Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่สมาชิกตัวสุดท้ายมีตัวชี้ (list)
ชี้ไปที่สมาชิกตัวแรกของลิงค์ลิสต์ จะมีการทำงานไปในทิศทางเดียวเท่านั้น คือ เป็นแบบวงกลม
2. Double Linked List เป็นลิงค์ลิสต์ที่มีทิศทางการทำแบบ 2 ทิศทาง
ในลิงค์ลิสต์แบบ 2 ทิศทาง ส่วนข้อมูลจะมีตัวชี้ไปที่ข้อมูลก่อนหน้า (backward pointer)
และตัวชี้ข้อมูลถัดไป (forward pointer)

#include "iostream.h"
void main ()
{
int number ;
char number1 ;
do{
cout << "Put number 1-99:" ; cin >> number ;
while(number==18)
{
cout << "You get bonus 100000 bath\n " ;
number++;
}
cout << "Play again Y or N:";cin >> number1 ;
}while (number1 == 'y');
cout << "Gameout";
}

วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS04-15/07/2009

สรุป
set และ string มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ตและโครงสร้างข้อมูลแบบสตริง
โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ต เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแต่ละตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน
ในภาษาซีจะไม่มีประเภทข้อมูลแบบเซ็ตนี้เหมือนกับในภาษาปาสคาล
แต่สามารถใช้หลักการของการดำเนินงานแบบเซ็ตมาใช้ได้โครงสร้างข้อมูลแบบสตริง
สตริง (String) หรือ สตริงของอักขระ (Character String) เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วย
ตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป รวมทั้งช่องว่าง
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นสตริงมีการ
นำไปใช้สร้างโปรแกรมประเภทบรรณาการข้อความหรือ
โปรแกรมประเภทประมวลผล
การกำหนดสตริง
การกำหนดสตริงทำได้หลายแบบ คือ 1. กำหนดเป็นสตริงที่มีค่าคงตัว
2. กำหนดโดยใช้ตัวแปรอะเรย์หรือพอยเตอร์
การกำหนดตัวแปรสตริง
ในการกำหนดตัวแปรของสตริง อาศัยหลักการของอะเรย์เพราะ
สตริงคืออะเรยืของอักขระที่ปิดท้ายด้วย null character (\0)
และมีฟังชันพิเศษสำหรับทำงานกับสตริงโดยเฉพาะ
อะเรย์ของสตริง
ถ้าหากมีสตริงจำนวนมาก ก็ควรจะทำให้เป็นอะเรย์ของสตริง เพื่อที่จะเขียน
โปรแกรมได้สะดวกการสร้างอะเรย์ของสตริง สามารถสร้างได้ทั้งแบบที่ให้ค่าเริ่มต้น
และแบบที่กำหนดเป็นตัวแปรฟังก์ชัน puts () ใช้ในการพิมพ์สตริงออกทางจอภาพ
โดยการผ่านค่าแอดเดรสของสตริงไปให้เท่านั้น ข้อสังเกต การกำหนดอะเรย์
ของสตริงในลักษณะอย่างนี้ ไม่ใช่อะเรย์ที่แท้จริงตามหลักการของอะเรย์ เนื่องจาก
ขนาดของช่องในอะเรย์ไม่เท่ากัน แต่อนุโลมให้ถือว่าเป็นอะเรย์
การดำเนินการเกี่ยวกับสตริง
ในการดำเนินการเกี่ยวกับสตริง จะมีฟังก์ชันที่อยู่ในแฟ้ม ข้อมูล stdio.h
เก็บอยู่ใน C Libraly อยู่แล้วสามารถนำมาใช้ได้ โดยการใช้คำสั่ง #include ในการเรียกใช้ เช่น
- ฟังก์ชัน strlen(str) ใช้หาความยาวของสตริง
- ฟังก์ชัน strcpy(str1,str2) ใช้คัดลอกข้อมูลจาก string หนึ่งไปยังอีก string หนึ่ง
- ฟังก์ชัน strcat(str1,str2) ใช้เชื่อมต่อข้อความ 2 ข้อความเข้าด้วยกัน
- ฟังก์ชัน strcmp(str1,str2) ใช้เปรียบเทียบข้อความ 2 ข้อความว่ามีค่าเท่ากันหรือไม่
ถือหลักการเปรียบเทียบแบบพจนานุกรม

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS03 30/6/2009

โครงสร้างข้อมูล
ข้อมูลประเภทของโครงสร้างข้อมูลในภาษาคอมพิวเตอร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ
1.1 ข้อมูลเบื้องต้น Primitive Data Types
1.2 ข้อมูลโครงสร้าง Structured Data Types
2. โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ-เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เกิดจาก
จินตนาการของผู้ใช้เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในโปรแกรมที่สร้างขึ้น แบ่ง เป็น 2 ประเภท
2.1 โครงสร้างข้อมูลเชิงเส้น Linear Data Structures
2.2 โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ Non-Linear Data Structuresข้อมูล
แต่ละตัวสามารถมีความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่นได้หลายตัวได้แก่ ทรี และกราฟ
อาร์เรย์
อาร์เรย์ 2 มิติมีลักษณะการกำหนดตำแหน่งแบบแถวและคอลัมน์รูปแบบของการประกาศ
ตัวแปรอาร์เรย์ 2 มิติtype array-name[n][m];type คือ ชนิดของตัวแปรอาร์เรย์ที่จะสร้างขึ้น
เช่น int,float,char เป็นต้นarray-name คือ ชื่อของตัวแปรอาร์เรย์ที่ต้องตั้งให้สื่อ
และเข้ากับชนิดของตัวแปรและจะต้องไม่ไปตรงกับคำสงวนของภาษาซีด้วยn
คือ จำนวนแถวของตัวแปรอาร์เรย์m คือ จำนวนคอลัมน์ของตัวแปรอาร์เรย์Structure
โครงสร้างข้อมูลหมายถึง การที่นำข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน
เช่น ข้อมูลของนักศึกษาที่อาจประกอบด้วยชื่อ,นามสกุล,อายุ,เพศ,ชั้นเรียน มารวมกันและจัดทำเป็นโครงสร้างข้อมูลstruct คือ คำที่ใช้กำหนดโครงสร้างข้อมูล(ต้องมีเสมอ)name
คือ ชื่อของโครงสร้างข้อมูลที่จะสร้างขึ้นtype var-1,type var-2 คือชื่อตัวแปรในกลุ่มโครงสร้าง
ข้อมูล
struct-variable คือชื่อของตัวแปรชนิดโครงสร้างที่ต้องการสร้างขึ้นจะมีลักษณะ
โครงสร้างภายในเหมือนกับโครงสร้างข้อมูลที่กำหนด*** เราสามารถประกาศ Structure
หนึ่งเป็นสมาชิกของอีก Structure ก็ได้แต่ต้องประกาศตัวที่จะนำไปใส่ไปไว้อีก Structure
Pointer
เป็นการทำงานแบบเก็บเข้าไปไว้แทนที่ในตำแหน่งหนึ่งไปอีกตำแหน่งหนึ่ง
โดยที่ค่าความห่างต้องมีมากพอที่จะได้เก็บค่าได้เช่น 100 200 300 นี้คือค่าความห่าง.

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

DTS02 24/6/2009

#include "stdio.h"
void main ()
{
struct form{
char name[30];
int age ;
char sex[2];
char phone[15] ;
};struct form1
{
char emaill [30];
char job[20] ;
char item[10] ;
float income ;
float expenses;
struct form personal;}
personal1;
printf ("####################### #####\n");
printf ("######## Questionnaire ##########\n");
printf ("################### #########\n");
printf ("What is your name ?\n") ;
scanf ("%s",&personal1.personal.name);
printf ("How old a you ? \n");
scanf ("%d",&personal1.personal.age);
printf ("What is your sex ? \n");
scanf ("%s",&personal1.personal.sex);
printf ("What is your phone number ?\n");
scanf ("%s",&personal1.personal.phone);
printf ("What is e_mail addess?\n") ;
scanf ("%s",&personal1.emaill);
printf ("What is your job ? \n");
scanf ("%s",&personal1.job);
printf ("Where are your shop ?\n");
scanf ("%s",&personal1.item);
printf ("How many your income ?\n");
scanf ("%f",&personal1.income);
printf ("How many your expenses this month ?\n");
scanf ("%f",&personal1.expenses);
printf ("#############################\n");


printf ("########################\n");
printf ("########## Data ##########\n");
printf ("########################\n");
printf ("Name:%s\n",personal1.personal.name);
printf ("Age:%d\n",personal1.personal.age);
printf ("Sex:%s\n",personal1.personal.sex);
printf ("Phone:%s\n",personal1.personal.phone);
printf ("E_mail:%s\n",personal1.emaill);
printf ("Job:%s\n",personal1.job);
printf ("Item:%s\n",personal1.item);
printf ("Income:%.2f\n",personal1.income);
printf ("Expenses:%.2f\n",personal1.expenses);
printf ("########################\n");
}

วันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติ


นายอดิเทพ แซ่ไล่ รหัสนักศึกษา 50132792042
ชื่อเล่น เทพ
Mr. Adithep Saelai
หลักสูตร การบริหารธุรกิจ(คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) คณะวิทยาการจัดการ
มหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนดุสิต
E mail : u50132792042@gmail.com
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ 087-3616763