วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS04-15/07/2009

สรุป
set และ string มีอยู่ 2 รูปแบบ คือ โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ตและโครงสร้างข้อมูลแบบสตริง
โครงสร้างข้อมูลแบบเซ็ต เป็นโครงสร้างข้อมูลที่ข้อมูลแต่ละตัวไม่มีความสัมพันธ์กัน
ในภาษาซีจะไม่มีประเภทข้อมูลแบบเซ็ตนี้เหมือนกับในภาษาปาสคาล
แต่สามารถใช้หลักการของการดำเนินงานแบบเซ็ตมาใช้ได้โครงสร้างข้อมูลแบบสตริง
สตริง (String) หรือ สตริงของอักขระ (Character String) เป็นข้อมูลที่ประกอบไปด้วย
ตัวอักษร ตัวเลขหรือเครื่องหมายเรียงติดต่อกันไป รวมทั้งช่องว่าง
การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นสตริงมีการ
นำไปใช้สร้างโปรแกรมประเภทบรรณาการข้อความหรือ
โปรแกรมประเภทประมวลผล
การกำหนดสตริง
การกำหนดสตริงทำได้หลายแบบ คือ 1. กำหนดเป็นสตริงที่มีค่าคงตัว
2. กำหนดโดยใช้ตัวแปรอะเรย์หรือพอยเตอร์
การกำหนดตัวแปรสตริง
ในการกำหนดตัวแปรของสตริง อาศัยหลักการของอะเรย์เพราะ
สตริงคืออะเรยืของอักขระที่ปิดท้ายด้วย null character (\0)
และมีฟังชันพิเศษสำหรับทำงานกับสตริงโดยเฉพาะ
อะเรย์ของสตริง
ถ้าหากมีสตริงจำนวนมาก ก็ควรจะทำให้เป็นอะเรย์ของสตริง เพื่อที่จะเขียน
โปรแกรมได้สะดวกการสร้างอะเรย์ของสตริง สามารถสร้างได้ทั้งแบบที่ให้ค่าเริ่มต้น
และแบบที่กำหนดเป็นตัวแปรฟังก์ชัน puts () ใช้ในการพิมพ์สตริงออกทางจอภาพ
โดยการผ่านค่าแอดเดรสของสตริงไปให้เท่านั้น ข้อสังเกต การกำหนดอะเรย์
ของสตริงในลักษณะอย่างนี้ ไม่ใช่อะเรย์ที่แท้จริงตามหลักการของอะเรย์ เนื่องจาก
ขนาดของช่องในอะเรย์ไม่เท่ากัน แต่อนุโลมให้ถือว่าเป็นอะเรย์
การดำเนินการเกี่ยวกับสตริง
ในการดำเนินการเกี่ยวกับสตริง จะมีฟังก์ชันที่อยู่ในแฟ้ม ข้อมูล stdio.h
เก็บอยู่ใน C Libraly อยู่แล้วสามารถนำมาใช้ได้ โดยการใช้คำสั่ง #include ในการเรียกใช้ เช่น
- ฟังก์ชัน strlen(str) ใช้หาความยาวของสตริง
- ฟังก์ชัน strcpy(str1,str2) ใช้คัดลอกข้อมูลจาก string หนึ่งไปยังอีก string หนึ่ง
- ฟังก์ชัน strcat(str1,str2) ใช้เชื่อมต่อข้อความ 2 ข้อความเข้าด้วยกัน
- ฟังก์ชัน strcmp(str1,str2) ใช้เปรียบเทียบข้อความ 2 ข้อความว่ามีค่าเท่ากันหรือไม่
ถือหลักการเปรียบเทียบแบบพจนานุกรม

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS03 30/6/2009

โครงสร้างข้อมูล
ข้อมูลประเภทของโครงสร้างข้อมูลในภาษาคอมพิวเตอร์จะแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. โครงสร้างข้อมูลทางกายภาพ
1.1 ข้อมูลเบื้องต้น Primitive Data Types
1.2 ข้อมูลโครงสร้าง Structured Data Types
2. โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ-เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เกิดจาก
จินตนาการของผู้ใช้เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในโปรแกรมที่สร้างขึ้น แบ่ง เป็น 2 ประเภท
2.1 โครงสร้างข้อมูลเชิงเส้น Linear Data Structures
2.2 โครงสร้างข้อมูลทางตรรกะ Non-Linear Data Structuresข้อมูล
แต่ละตัวสามารถมีความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่นได้หลายตัวได้แก่ ทรี และกราฟ
อาร์เรย์
อาร์เรย์ 2 มิติมีลักษณะการกำหนดตำแหน่งแบบแถวและคอลัมน์รูปแบบของการประกาศ
ตัวแปรอาร์เรย์ 2 มิติtype array-name[n][m];type คือ ชนิดของตัวแปรอาร์เรย์ที่จะสร้างขึ้น
เช่น int,float,char เป็นต้นarray-name คือ ชื่อของตัวแปรอาร์เรย์ที่ต้องตั้งให้สื่อ
และเข้ากับชนิดของตัวแปรและจะต้องไม่ไปตรงกับคำสงวนของภาษาซีด้วยn
คือ จำนวนแถวของตัวแปรอาร์เรย์m คือ จำนวนคอลัมน์ของตัวแปรอาร์เรย์Structure
โครงสร้างข้อมูลหมายถึง การที่นำข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน
เช่น ข้อมูลของนักศึกษาที่อาจประกอบด้วยชื่อ,นามสกุล,อายุ,เพศ,ชั้นเรียน มารวมกันและจัดทำเป็นโครงสร้างข้อมูลstruct คือ คำที่ใช้กำหนดโครงสร้างข้อมูล(ต้องมีเสมอ)name
คือ ชื่อของโครงสร้างข้อมูลที่จะสร้างขึ้นtype var-1,type var-2 คือชื่อตัวแปรในกลุ่มโครงสร้าง
ข้อมูล
struct-variable คือชื่อของตัวแปรชนิดโครงสร้างที่ต้องการสร้างขึ้นจะมีลักษณะ
โครงสร้างภายในเหมือนกับโครงสร้างข้อมูลที่กำหนด*** เราสามารถประกาศ Structure
หนึ่งเป็นสมาชิกของอีก Structure ก็ได้แต่ต้องประกาศตัวที่จะนำไปใส่ไปไว้อีก Structure
Pointer
เป็นการทำงานแบบเก็บเข้าไปไว้แทนที่ในตำแหน่งหนึ่งไปอีกตำแหน่งหนึ่ง
โดยที่ค่าความห่างต้องมีมากพอที่จะได้เก็บค่าได้เช่น 100 200 300 นี้คือค่าความห่าง.